GLINK-09 HDMI V1.4 (3M)

ราคา 200 บาท


สินค้าคงเหลือ : 50



สาย HDMI (V.1.4) M/M สายถักแดง


  • Cable HDMI M/M
  • สายถักสีแดง
  • ความยาวสาย 3 เมตร

ปัจจุบัน HDMI ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียง สำหรับระบบโฮมเธียเตอร์ในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยความสะดวกที่สายเส้นเดียวแต่รองรับทั้งระบบภาพความละเอียดสูง และเสียงเซอร์ราวด์มัลติแชนเนล พร้อมกับราคาที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับคุณสมบัติที่ได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมาตรฐาน HDMI ซึ่งรวมถึงเวอร์ชั่นปัจจุบัน คือ 1.4* กันครับ

*HDMI Version ใช้อ้างอิงคุณสมบัติสำหรับระบบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ แต่ไม่สามารถใช้อ้างอิงกับ HDMI Cable ได้โดยตรง เนื่องจากคุณสมบัติใหม่ที่ได้รับการเพิ่มเติมเข้ามา เป็นคุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับระบบฮาร์ดแวร์หลัก (ดูรายละเอียดข้อ 9 เพิ่มเติม)

1. ช่องต่อแบบเดียว ช่องเดียว รองรับทั้งภาพ HD และเสียงมัลติแชนเนล

เดิมทีการเชื่อมต่อสัญญาณของระบบโฮมเธียเตอร์ มีการแยกมาตรฐานช่องต่อสำหรับภาพ และเสียงมาโดยเฉพาะ (ซึ่งรวมถึงเสียงเซอร์ราวด์หลายช่องเสียง) ดังนั้นจำนวนเส้นสายต่างๆ ที่ต้องใช้ในระบบจึงมีจำนวนมาก นอกจากสร้างความสับสนยุ่งเหยิงแล้ว ยังยากต่อการเก็บซ่อนสายเหล่านั้นให้ดูเรียบร้อยสวยงาม แต่การมาถึงของ HDMI ทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป เพราะช่องต่อแบบเดียว ใช้สายเส้นเดียว รองรับทั้งภาพดิจิทัลความละเอียดสูง และเสียงรอบทิศทางหลายแชนเนลพร้อม ๆ กัน

2. รองรับการส่งสัญญาณดิจิทัลวิดีโอ 3D ที่ 1080p

ในตอนนี้เทรนด์ใหม่ที่กำลังมาคือเทคโนโลยีการนำเสนอภาพวิดีโอแบบสามมิติ ซึ่ง HDMI เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่ออกแบบมาให้รองรับการนำเสนอรูปแบบนี้เช่นกัน โดยจะรองรับได้ถึงระบบ full hd (3D 1080p/120Hz) ปัจจุบันโทรทัศน์ในต่างประเทศหลายๆ ช่อง เริ่มมีการแพร่ภาพแบบสามมิติแล้ว รวมถึงเกมพีซี และคอนโซลต่างๆ แต่ที่แน่นอน คือ บลูเรย์ 3D มีให้เลือกซื้อหาแล้ว หลายไตเติล

3. รองรับความละเอียด “โคตรสูง”

ปัจจุบันนั้นเราดูทีวีกันที่ความละเอียดสูงสุดคือ 1080p แต่มาตรฐาน HDMI v1.4 มองไปไกลกว่านั้น โดยเวอร์ชั่นใหม่นี้จะรองรับความละเอียดได้สูงสุดถึง 3840 x 2160 pixels ที่ 24Hz, 25Hz and 30Hz และ 4096 x 2160 pixels ที่ 24Hz แต่ความละเอียดดังกล่าวยังคงเป็นมาตรฐานสำหรับจอภาพในอนาคต

4. เพิ่มช่องสัญญาณ Ethernet

นอกเหนือจากสัญญาณภาพและเสียงความละเอียดสูง HDMI ยังรวมเอาช่องสัญญาณ ethernet เข้าไปด้วย ทำให้อุปกรณ์นั้นสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ อุปกรณ์ใหม่ๆ จึงเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้สะดวกมากยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเชื่อมต่อสาย LAN ต่างหากเหมือนที่ผ่านมา ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 100Mbps (การจะใช้งานฟีเจอร์นี้ต้องใช้สาย HDMI with Ethernet กับอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน Ethernet over HDMI)

5. มี Audio Return Channel (ARC)

ในเวอร์ชั่น 1.4 นี้ อุปกรณ์ทีวี สามารถส่งสัญญาณเสียงกลับไปยัง AV Reciever ได้โดยใช้สายสัญญาณ HDMI เส้นเดิม (เส้นเดียวกับที่ใช้เชื่อมต่อสัญญาณภาพจาก AVR ไปยังทีวี) จึงไม่ต้องหาสายเสียงแยกต่างหากเหมือนที่ผ่านมา

6. รองรับ Color Space ที่กว้างขึ้น

มีการรองรับ sYCC601, Adobe RGB, และ Adobe YCC601 เพิ่มเข้ามาเพื่อการแสดงรูปภาพที่ให้สีที่สมจริงมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความสมจริงของระดับสีที่กว้างขวางใกล้เคียงกับธรรมชาติ เช่น ผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจ

7. มีหัวต่อแบบใหม่อีกสองแบบ

HDMI v1.4 เป็นครั้งแรกที่กำหนดมาตรฐานหัวต่อ (Connector) ขนาดเล็กแบบ micro เข้ามาให้ได้ใช้กัน โดยหัวต่อแบบ micro connector นี้ จะใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล, pmp (portable media player) โดยข้อมูลทางสเป็กนั้น สายชนิดนี้เรียกว่าเป็นชนิด D ส่วนอีกแบบคือสายชนิด E ที่เรียกว่า Automotive Connection System วัตถุประสงค์ไว้ใช้งานกับมาตรฐานอุปกรณ์สำหรับยานยนต์

8. ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาใหม่จาก HDMI v1.4 ทำให้ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่

จากฟีเจอร์ใหม่ที่มีประโยชน์มากมายดังที่กล่าวไปข้างต้น คงต้องบอกว่า จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ไปเป็นรุ่นใหม่ ที่รองรับมาตรฐาน HDMI 1.4 เพราะฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้เกี่ยวเนื่องกับความสามารถของระบบฮาร์ดแวร์ จึงไม่สามารถอัพเกรดโดยซอฟต์แวร์/เฟิร์มแวร์ได้

9. รูปแบบสาย HDMI ในปัจจุบัน

ในส่วนของ สาย HDMI นั้น ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับการรองรับฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็จริง ทว่าไม่สามารถอ้างอิงคุณสมบัติตาม HDMI Version ได้ เพื่อป้องกันความสับสน ปัจจุบันทางผู้กำหนดมาตรฐาน (HDMI LLC) ได้กำหนดมาตรฐานการอ้างอิงรูปแบบสาย HDMI ออกมา 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ HDMI Standard, HDMI Standard with Ethernet, HDMI Standard Automotive, HDMI High Speed และ HDMI High Speed with Ethernet

หากต้องการความสามารถเพื่อรองรับมาตรฐานสูงสุด คือ 3D, 4K, Adobe RGB/YCC601 ฯลฯ ควรพิจารณาว่าสายเส้นนั้นผ่านมาตรฐาน HDMI High Speed หรือไม่ แต่หากต้องใช้ฟังก์ชั่น Ethernet จำเป็นที่สาย HDMI เส้นนั้น ต้องมีมาตรฐาน HDMI with Ethernet เพิ่มเติมเข้ามา (แต่ระบบฮาร์ดแวร์ต้องรองรับฟังก์ชั่น Ethernet over HDMI ด้วย จึงจะใช้งานได้) ในกรณีที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์ในรถยนต์ จำเป็นต้องใช้รูปแบบ Automotive เพราะระบบยึดล็อค ความทนทานของวัสดุที่เหมาะสมตามสภาพการใช้งาน ส่วนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์บางอย่าง เช่น Satellite/Cable TV และ DVD การใช้สาย HDMI Standard Speed ถือว่าเพียงพอแล้ว